ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไม “เซินเจิ้น” จะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจจีน ไม่ใช่ “ฮ่องกง”

ทำไม “เซินเจิ้น” จะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจจีน ไม่ใช่ “ฮ่องกง”

ทำไม “เซินเจิ้น” จะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจจีน ไม่ใช่ “ฮ่องกง”


ม็อบฮ่องกง VS ความฝันของจีน มองอย่างเข้าใจ


จีนเผยแผนพัฒนา "เซินเจิ้น" ให้เหนือกว่า "ฮ่องกง"


จีนลุยแผนพัฒนา "เซินเจิ้น" แทนที่ "ฮ่องกง" l Highlight ย่อโลกเศรษฐกิจ


The Greater Bay Area: Bridging Hong Kong, Macau and Mainland China | CNBC Reports


การประกาศนโยบายการพัฒนาโครงการ The Greater Bay Area (GBA) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ของรัฐบาลจีนฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2559-2563) เปรียบได้กับยุทธศาสตร์สำคัญของจีนที่จะต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนให้เชื่อมกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น หลังจากจีนได้ดำเนินการพัฒนาประเทศจากผู้ผลิตสินค้ำเกษตรกรรมเมื่อ 20 ปีก่อน จนมาถึงการกำหนดเขตกวางตุ้ง (Guangdong) เป็นเศรษฐกิจพิเศษ Pearl River Delta (PRD) เพื่อผลิกฟื้นจากเขตเกษตรกรรมเป็นเขตอุตสาหกรรมและประสบความสำเร็จอย่างสูงจนถึง
ในช่วงปี 2556-2558 กลายเป็นแหล่งผลิตสินค้ำสำเร็จรูปที่สำคัญตลอดจนเทคโนโลยี นวัตกรรมจากต่างชาติที่ไหลเข้าสู่จีน ทำให้เขต PRD เป็นแหล่งรวมการผลิตสินค้ำป้อนตลาดโลกที่สำคัญแห่งหนึ่งโครงการ GBA เป็นการต่อยอดจาก PRD ในฐานะ การพัฒนาจากเขตการผลิตสินค้ำรำคำถูก สู่การผลิตสินค้ำนวัตกรรม เทคโนโลยี ตลอดจนศูนย์รวมของการค้ำ การขนส่ง และการเงินโดยเฉพาะเงินหยวน ดังนั้น GBA จึงได้รวมเขตเศรษฐกิจพิเศษในมณฑลกวางตุ้งทั้ง 9 เมือง กับ ฮ่องกงและมาเก๊า รวมเป็น 11 เมือง 

จีนเร่ง Greater Bay Area เสริมแกร่ง ศก.หนีพิษ “เทรดวอร์”

วันที่ 23 February 2019 - 20:05 น.
คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก โดย นงนุช สิงหเดชะ
สัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้เปิดเผยโรดแมปในการเพิ่มความเชื่อมโยงฮ่องกงและมาเก๊าเข้ากับแผ่นดินใหญ่มากขึ้นไปอีก ภายใต้แผน Greater Bay Area หรือจีบีเอ ทั้งนี้ โรดแมปดังกล่าวมีความยาว 11 หน้า ระบุให้ 11 เมืองภายใต้แผนจีบีเอต้องเพิ่มความร่วมมือกันมากขึ้นภายในปี ค.ศ. 2022 ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และการรักษาระบบนิเวศ โดยกำหนดให้ภายในปี ค.ศ. 2035 Greater Bay Area จะต้องพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเป็นหลัก

ADVERTISEMENT

ความคืบหน้าแผน Greater Bay Area

อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า 粤港澳大湾区 :Guangdong -Hongkong-Macao Geater Bay Area

ภูมิหลัง

ศักยภาพของอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

หมดเวลาง้อ! จีนเผยแผนพัฒนา “เซินเจิ้น” ให้เป็นเมืองที่ดีกว่า “ฮ่องกง”


Shenzhen China เมืองเซินเจิ้น 2019


ความเจ็บปวดที่เสีย ฮ่องกง บทเรียนที่จีนไม่มีวันลืม | ภาษาเศรษฐี







ทำไมอนาคตของเศรษฐกิจจีน อาจอยู่ที่ “เซินเจิ้น” ไม่ใช่ “ฮ่องกง” | BI Opinion


Zhenshen Hongkong China Opinion

จีนต้องการแผนใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

หนึ่งในความเคลื่อนไหวล่าสุดของจีน เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ทั้งน่าสนใจและต้องจับตามอง คือการที่คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปของจีน ซึ่งมีสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดนั่งเป็นประธาน ได้ประกาศให้ “เซินเจิ้น” มีสถานะพิเศษ (special status) ในการเป็นพื้นที่ทดลองของการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการครั้งใหม่
คำถามคือ มันหมายความว่าอะไร?
เศรษฐกิจจีนในช่วงนี้มีสัญญาณชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นยอดการใช้จ่ายที่โตต่ำในรอบเกือบ 10 ปี หรือตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เติบโตได้น้อยลงเรื่อยๆ หรือแม้แต่ตัวเลขในไตรมาส 1 ปีนี้ที่แม้จะออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะถ้าเจาะเข้าไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจในอีกหลายภาคส่วนของจีนถือว่ามีอาการค่อนข้างน่าเป็นห่วง และนี่ยังไม่รวมปัจจัยจากสงครามการค้าที่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุดในเร็ววัน
ภาพแบบนี้ ก็ชัดเจนว่าเศรษฐกิจจีนนับจากนี้จะไม่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้เหมือนในทศวรรษที่ผ่านมาแล้ว
ดังนั้น จีนจึงต้องมีแผนใหม่ในทางเศรษฐกิจ และวันนี้ความชัดเจนของแผนใหม่ก็เริ่มปล่อยออกมาให้เราได้เห็นกันเรื่อยๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการผลักดัน “เซินเจิ้น” ให้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
แต่จะพูดแค่นี้ไม่ได้ เนื่องจากไม่ครบถ้วนกระบวนความ เพราะแผนการของจีนครั้งนี้ ยิ่งใหญ่กว่าแค่ “เซินเจิ้น”
แผนใหญ่ในการผลักดันเศรษฐกิจครั้งใหม่ของจีน คือการผลักดันสิ่งที่มีชื่อว่า “Greater Bay Area”





Greater Bay Area
Photo: Greater Bay Area

Greater Bay Area คืออะไร ยิ่งใหญ่แค่ไหน

Greater Bay Area คือเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุกที่ประกอบไปด้วยฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ กวางโจว, เซินเจิ้น, จูไห่, ฝอซาน, ฮุ่ยโจว, ตงกวน, จงซาน, เจียงเหมิน และเจ้าชิ่ง
Greater Bay Area มีขนาดพื้นที่ประมาณ 5.5 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 69.5 ล้านคน (จำนวนประชากรพอๆ กับประเทศไทย!) และมีตัวเลขรวม GDP สูงถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์
ถ้าเทียบ Greater Bay Area กับเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่ถือเป็นคู่แข่ง จะยิ่งเห็นความได้เปรียบที่ชัดเจนมาก
  • เขต New York City ที่เป็นศูนย์กลางทางเงินโลก มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2.1 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน
  • San Francisco Bay Area ที่เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีโลกอย่าง Silicon Valley มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.8 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7.8 ล้านคน
  • Tokyo Bay Area ที่เป็นพื้นที่ที่แข็งแกร่งด้านอุตสาหกรรมการผลิตแห่งหนึ่งของโลก มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.36 หมื่นตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 44 ล้านคน
Greater Bay Area ชนะเรียบ!
แต่ Greater Bay Area ก็ไม่ได้มี “ดี” แค่จำนวนประชากรและขนาดพื้นที่เท่านั้น หากเปรียบเทียบความแข็งแกร่งในแง่เศรษฐกิจ การเงิน นวัตกรรม เทคโนโลยี ก็อยู่ในระดับที่สู้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เหมือนกัน
รู้หรือไม่ว่า Greater Bay Area มีบริษัทที่ติดอันดับ 500 แรกของโลกกว่า 20 บริษัท นอกจากนั้นใน Greater Bay Area ยังมีหลากหลายภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง ยกตัวอย่างเช่น
  • การเงินระดับโลกอย่างฮ่องกงที่ถือเป็นคู่แข่งของนิวยอร์ก
  • บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่คู่แข่งซิลิคอนวัลเลย์อย่าง Tencent, Huawei หรือ DJI ต่างก็มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเซินเจิ้น
  • ในกวางโจวมีอุตสาหกรรมรถยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย รวมถึงในจูไห่และฝอซานที่แทบจะเทียบชั้นกับโตเกียวได้แล้ว
  • นอกจากนั้นยังมีการท่องเที่ยวอันแข็งแกร่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมาเก๊าอยู่ด้วย
Greater Bay Area มีครบจริงๆ
ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งเคยวิเคราะห์ไว้ว่า Greater Bay Area มีความได้เปรียบอย่างมากในเชิงภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งเชื่อว่าหากจีนผลักดันให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จะเกิดการผนึกกำลังในหลายอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่จะถูกท้าทายมากที่สุดคือภาคการเงินในสิงคโปร์ แต่ก็มีนักวิเคราะห์บางคนที่ไม่เห็นด้วย โดยมองว่าสิงคโปร์จะไม่ได้รับผลกระทบหรือความท้าทายจาก Greater Bay Area มากนัก เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
แต่อย่างไรก็ดี ในภาพใหญ่แล้ว Greater Bay Area มีความได้เปรียบสำหรับการต่อสู้ในโลกอนาคตทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะการแข่งกันด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ การผลิตอัจฉริยะ(ลดการใช้แรงงานมนุษย์) หรือเรื่อง Internet of Things (IoT) ซึ่ง Greater Bay Area มีหมด แต่ก็มีจุดด้อยใหญ่ที่ต้องรีบแก้ คือต้องลดการพึ่งพาเทคโนโลยีสำคัญๆ จากต่างชาติ แล้วหันมาพึ่งตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
นี่คือภาพทั้งหมดในฉบับคร่าวๆ ของ Greater Bay Area ที่เราควรรู้




Shenzhen
Shenzhen Photo: Shutterstock

ทำไม “เซินเจิ้น” จะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจจีน ไม่ใช่ “ฮ่องกง”

เข้าสู่คำถามหลักที่วางไว้ ทำไมเซินเจิ้นจะเป็นอนาคตทางเศรษฐกิจของจีนมากกว่าฮ่องกง
ก่อนหน้านี้ ถ้าพูดถึง Greater Bay Area จะมีความคิดอย่างน้อย 2 ด้านสำหรับนักวิเคราะห์ คือมีทั้งที่เห็นด้วย และอีกฝั่งคือไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ยังมองภาพของ Greater Bay Area ได้ไม่ชัดเจนนัก คำวิจารณ์ที่มีน้ำหนักคือ ไม่รู้ว่าจีนต้องการทำอะไรกันแน่
แต่แผนใหม่ของจีนผ่าน Greater Bay Area ก็เริ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่านี่คือแผนของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจครั้งใหม่ พร้อมทั้งเชื่อมเศรษฐกิจและการเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ตามแผน “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ซึ่งแน่นอนเวลาพูดแบบนี้ หลายคนจะมองว่าพระเอกของ Greater Bay Area น่าจะเป็น “ฮ่องกง” เพราะที่ผ่านมา ความได้เปรียบที่สุดของฮ่องกงคือ Rule of Law หรือระบบระเบียบการเมือง-กฎหมายที่ต่างชาติให้ความเชื่อถือ/เชื่อมั่นมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าเงินที่ไหลเข้าจีนเพื่อไปลงทุนก็ผ่านทางฮ่องกงอย่างมหาศาล
แต่ในช่วงหลายเดือนมานี้ เราก็ได้เห็นกันแล้วว่า ความกระด้างกระเดื่องของฮ่องกงผ่านการประท้วงส่งผลร้าวลึกต่อจีนแผ่นดินใหญ่เพียงใด และเมื่อบวกกับความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาที่ได้ตั้งให้เซินเจิ้นขึ้นเป็นพื้นที่ที่มีสถานะพิเศษในการปฏิรูปดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ชัดเจนว่า จีนแผ่นดินใหญ่ไม่ถูกใจสิ่งนี้ ทิศทางลมจากรัฐบาลจีนจึงพัดไปที่ “เซินเจิ้น”
Zhang Yansheng หัวหน้าใหญ่ฝ่ายวิจัยจาก China Centre for International Economic Exchanges ระบุว่า รัฐบาลจีนต้องการให้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองในการสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรมครั้งใหญ่และล้อไปกับแนวคิดแบบสังคมนิยม (socialism)
ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนก็คือความพยายามในการสร้างเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) กับสังคมนิยมไปด้วยกันอยู่แล้ว ซึ่งเราก็เห็นว่ามันได้ผล
จึงค่อนข้างชัดเจนว่า หลังจากนี้ เซินเจิ้นจะกลายเป็น “หนูทดลอง” ตัวเก่าในเหล้าสูตรเดิม นั่นคือจีนจะใช้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองในการพัฒนาเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม และแน่นอนย่อมควบคู่ไปกับแนวคิดแบบสังคมนิยม เหมือนกับที่เซินเจิ้นเคยเป็นมาแล้วใน 40 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือเศรษฐกิจพัฒนาได้ดีและยังคงความเป็นสังคมนิยมแบบจีนได้ด้วย (socialism with Chinese characteristics)
ถ้าดูตัวเลข GDP ในปี 2018 ของเซินเจิ้นเทียบกับฮ่องกง จะเห็นได้ว่าเซินเจิ้นมาแรงจริง เพราะแซงหน้าฮ่องกงแล้ว
  • GDP เซินเจิ้นเติบโต 7.6% มีมูลค่า 3.66 แสนล้านดอลลาร์
  • GDP ฮ่องกงเติบโตเพียง 3% มีมูลค่า 3.63 แสนล้านดอลลาร์
ในเมื่อการเมืองฮ่องกงไม่ไปทางเดียวกับจีนแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้นการผลักดันเซินเจิ้นจึงไม่ได้มีเหตุผลแค่ทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มันคือเหตุผลทางการเมืองด้วย เพราะเศรษฐกิจกับการเมืองมันเป็นเรื่องเดียวกัน
นับจากนี้ต่อไป หากจีนทำสำเร็จในเซินเจิ้น เราคงได้เห็นเมืองอื่นๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ทยอยลอกโมเดลความสำเร็จจากเซินเจิ้นกันชุดใหญ่
และด้วยวิสัยทัศน์ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า บวกกับเงินทุนมหาศาลของจีน
ผมก็เกรงว่า “จีนอาจจะทำได้สำเร็จ”
และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่จีนจะพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่า ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจก็เติบใหญ่ได้อย่างแข็งแกร่ง
https://brandinside.asia/why-the-future-of-chinese-economics-is-in-shenzhen/



แผนใหม่จีน ดันฮ่องกง-มาเก๊า-กวางตุ้ง เป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่ เตรียมโค่นสิงคโปร์

สิงคโปร์อาจจะถูกโค่น ด้วยแผนใหม่ของจีนที่ดันฮ่องกง-มาเก๊า-กวางตุ้งเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่


สิงคโปร์ ศูนย์กลางทางการเงิน
สิงคโปร์ Photo: Shutterstock

ศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่ของจีน เตรียมโค่นสิงคโปร์

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทางการจีนเผยแผนใหม่ที่มีชื่อว่า Greater Bay Area โดยประกอบด้วยฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ กวางโจว, เซินเจิ้น, จูไห่, ฝอซาน, ฮุ่ยโจว, ตงกวน, จงซาน, เจียงเหมิน และเจ้าชิ่ง
  • แม้ว่าแผน Greater Bay Area ยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า แผนใหม่ของจีนในครั้งนี้สามารถโค่นล้มสิงคโปร์ได้ เพราะจะกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่แห่งใหม่
หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ที่มองไปในทิศทางนี้คือ Lawrence Loh ผู้อำนวยการของ Centre for Governance จาก NUS Business School โดยระบุว่า แผนใหม่ของจีนได้เปรียบอย่างมากในทางภูมิศาสตร์ เชื่อว่าหากเป็นไปตามแผนนี้จะเกิดการผนึกกำลังในหลายอุตสาหกรรมและหลายตลาด ซึ่งอุตสาหกรรมที่จะถูกท้าทายมากที่สุดในสิงคโปร์ คือ “ภาคการเงิน”
หากดูจากตัวเลขสถิติ ตามแผนของ Greater Bay Area ถือว่าเหนือว่าสิงคโปร์ในหลายด้าน เช่น มีประชากรสูงถึง 71 ล้านคน มากกว่าสิงคโปร์ถึง 12 เท่า นอกจากนั้นยังมี GDP รวมกันประมาณ 1.64 ล้านล้านดอลลาร์ มากกว่าสิงคโปร์ถึง 5 เท่า
ส่วน Tommy Xie หัวหน้าของ Greater China Research จาก OCBC Bank มองว่า แผนใหม่ของจีนจะทำให้ฮ่องกงได้รับผลประโยชน์มากที่สุด เพราะจะกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินใหม่ และแน่นอนจะกลายเป็นความท้าทายแห่งใหม่ของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางทางการเงิน


Greater Bay Area
Greater Bay Area | Photo: © 2018 Constitutional and Mainland Affairs Bureau

แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้

Duncan Innes-Ker จาก The Economist ให้ความเห็นว่า Greater Bay Area จะไม่เป็นภัยคุกคามสำหรับสิงคโปร์ เนื่องจากฮ่องกงกับสิงคโปร์เป็นเมืองระดับโลก (Global City) ที่ดึงดูดเงินลงทุนและแรงงานทักษะสูงจากทั่วโลกอยู่แล้ว
ส่วนอีกหนึ่งเหตุผลที่สิงคโปร์จะไม่ได้รับผลกระทบ หรือความท้าทายจาก Greater Bay Area มากนัก เป็นเพราะการที่สิงคโปร์ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างในปี 2018 ที่ผ่านมา เงินลงทุนในส่วน FinTech อย่างเดียวในสิงคโปร์ก็ได้รับเม็ดเงินสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้าถึง 2 เท่า โดยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 365 ล้านดอลลาร์
ที่มา – Nikkei Asian reviewBayarea

จีนสั่งรวมเศรษฐกิจเสิ่นเจิ้นเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊า ดันเสิ่นเจิ้นเป็นพื้นที่นำร่องสังคมนิยมแบบจีน



สะพานลก หม่า เชาข้ามแดนจากฮ่องกงเข้าศูนย์นวัตกรรมแทคโนโลยี เสิ่นเจิ้น ที่มาภาพ: https://www.scmp.com/comment/insight-opinion/hong-kong/article/2149897/hong-kongs-future-lies-beyond-greater-bay-area

คณะรัฐมนตรีจีนสั่งให้รวมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเสิ่นเจิ้นเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊า เพื่อยกระดับเสิ่นเจิ้นให้เป็นพื้นที่นำร่องของการเป็นสังคมนิยมแบบจีน และขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ Greater Bay Area
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 คณะรัฐมนตรีจีน (State Council) ได้มีคำสั่งให้พัฒนาเสิ่นเจิ้นและรวมวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจของเสิ่นเจิ้นเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊า
คำสั่งนี้มีขึ้นหลังการประท้วงในฮ่องกงที่ยืดเยื้อเป็นภัยคุกคามสถานะศูนย์กลางการเงินของฮ่องกง
คำสั่งคณะรัฐมนตรีที่ประกอบด้วย 19 แนวทาง เผยแพร่ผ่านพีเพิล’ส เดลี (People’s Daily) สื่อของรัฐ มีเป้าหมายเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของเสิ่นเจิ้น เพื่อยกระดับให้ติดอันดับโลกภายในปี 2025 และเป็นมาตรฐานโลกภายในกลางศตวรรษนี้
คำสั่งของคณะรัฐมนตรียังส่งเสริมการพัฒนากติกาสังคมของเสิ่นเจิ้นในทันสมัย ผ่านแอปพลิเคชั่ชันที่ใช้บิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติง ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังสั่งให้มีการรวมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเสิ่นเจิ้นเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊า ผ่านการสนับสนุนทางการเงินแก่โรงพยาบาล การร่วมมือบรรเทาสาธารณภัยและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาโครงการ Greater Bay Area (GBA) ที่รวมฮ่องกงและมาเก๊า ต่อเนื่อง และส่งเสริมแนวปฏิบัติของนโยบายหนึ่งประเทศ สองระบบ
คำสั่งรวมวัฒนธรรมของเสิ่นเจิ้นกับเศรษฐกิจเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊าของคณะรัฐมนตรีจีนเป็นแผนพัฒนาเสิ่นเจิ้นให้เป็นเมืองที่ดีกว่าฮ่องกงซึ่งมีพื้นที่ติดกัน หลังจากการประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกงนานร่วมกว่า 2 เดือนทำให้จีนต้องวางกรอบโอกาสในการพัฒนาเสิ่นเจิ้น
แผนการพัฒนานี้มีเป้าหมายที่จะยกระดับเสิ่นเจิ้นให้เป็นพื้นที่นำร่องของการเป็นสังคมนิยมแบบจีน (socialism with Chinese characteristics) และแม้ว่าในแผนยังไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่หนึ่งเป้าหมายที่สำคัญคือการปรับโฉมเสิ่นเจิ้นให้เป็นเมืองที่เศรษฐกิจเข้มแข็งและมีการพัฒนาที่มีคุณภาพ ติดอันดับโลกในปี 2025
เอกสารทางการในชื่อ Guidelines on supporting Shenzhen in building a pilot demonstration area of socialism with Chinese characteristics ยังมีเป้าหมายปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์สำหรับ Greater Bay Area และส่งเสริมนโยบายหนึ่งประเทศ สองระบบ
แนวทางนี้ได้ให้เสิ่นเจิ้นใช้โอกาสจากโครงการ Greater Bay Area และตอกย้ำสถานะการเป็นเครื่องยนต์หลัก
ข้อมูลจากองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council) ระบุว่า Greater Bay Area มีประชากรรวมกัน 71.16 ล้านคน มี GDP รวมกัน 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018 สูงเป็นอันดับสามรองจากอ่าวโตเกียว (Tokyo Bay Area) และนิวยอร์ก

ที่มาภาพ: https://www.abc.net.au/news/2019-01-16/china-approves-plan-for-greater-bay-area-to-rival-silicon-valley/10715690

เทียน เฟยหลง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเป่ยหางและผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการฮ่องกง ให้ความเห็นว่า การประกาศคำสั่งของคณะรัฐมนตรีที่มีขึ้นหลังการประท้วงที่ยืดเยื้อของฮ่องกง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกลางตัดสินใจแล้วว่าเสิ่นเจิ้นต้องเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของยุทธศาสตร์ Greater Bay Area
“ฮ่องกงไม่เหมาะที่จะมีบทบาทหลักในยุทธศาสตร์ Greater Bay Area และควรที่จะเป็นเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่ แต่บทบาทของฮ่องกงในยุทธศาสตร์นี้ยังไม่มีใครแทนได้ เพราะยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ” เทียน เฟยหลง กล่าว
ด้าน เม่ย ซินอวี้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายจากปักกิ่ง มองว่า การประท้วงที่ฮ่องกงทำให้สถานะของเสิ่นเจิ้นโดดเด่นขึ้นในยุทธศาสตร์ระดับชาติของจีน
ขณะที่ อังกัส อึ้ง ฮก หมิง รองประธานสมาคมเยาวชนแห่ง Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area ให้ความเห็นว่า คำสั่งนี้ยิ่งเป็นแรงผลักดันที่แข็งแกร่งของการพัฒนาโครงการ Greater Bay Area และเป็นที่น่ายินดีที่ได้เห็นการสนับสนุนเสิ่นเจิ้นอย่างมากในเชิงนโยบาย เมื่อการกำกับดูแลของฮ่องกงมีปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการกับประเด็นทางเศรษฐกิจและด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คน
อึ้งกล่าวอีกว่า คนฮ่องกงควรจะตระหนักได้ว่ากำลังเจอวิกฤติ และนโยบายการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางไม่ได้มีอยู่ตลอดไป
วิทแมน ฮุง ไว่ ม่าน รองประธานาสภาประชาชนแห่งจีน กล่าวว่า การออกคำสั่งของคณะรัฐมนตรีไม่ต้องการสับเปลี่ยนความสำคัญระหว่างฮ่องกงกับเสิ่นเจิ้น แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าเสิ่นเจิ้นจะมีบทบาทแทนที่ฮ่องกงในบางด้าน
ในทางกลับกัน ฮ่องกงมีความเสี่ยงที่จะตามเสิ่นเจิ้นไม่ทัน จากความเห็นของ เทียน เฟยหลง โดยกล่าวว่า หากฮ่องกงยังไม่พร้อมที่ใช้โอกาสนี้เข้าร่วมแผนการพัฒนาของประเทศ การพัฒนาของฮ่องก็จะถูกจำกัดในอนาคต ขณะที่เสิ่นเจิ้นนำหน้าไปไกลอย่างรวดเร็ว
เทียน เฟยหลง ยังมองว่า ก่อนที่รัฐบาลจะให้โอกาสการพัฒนาแก่ฮ่องกงคงจะพิจารณากันหลายรอบ เพราะต้องคำนึงถึงการคัดค้านกฎหมายส่งมอบผู้ร้ายข้ามแดนและการประท้วง
ปี 2018 เศรษฐกิจเสิ่นเจิ้นมีขนาดใหญ่แซงหน้าฮ่องกงไปแล้วเมื่อวัดจาก GDP และเป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Greater Bay Area
นักวิเคราะห์มองว่า เสิ่นเจิ้นจะเป็นตัวอย่างให้กับคนฮ่องกงและเมืองอื่นในภูมิภาค ว่าจะประสานนโยบายท้องถิ่นกับกลไกการสนับสนุนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาของชาติได้อย่างไร
อนาคตของของหลักการบริหารงานในเสิ่นเจิ้นจะล้ำหน้าฮ่องกง รวมทั้งกฎหมายสากลและแนวปฏิบัติทางธุรกิจ เพื่อที่จะดึงดูดมืออาชีพจากเมืองใกล้เคียง และจากทั่วโลกเพื่อสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก
ขณะเดียวกันเอกสารทางการระบุว่า เสิ่นเจิ้นจะแสดงให้เห็นถึงเมืองที่มีหลักนิติธรรม และมีการพัฒนาที่มีคุณภาพ มีอารยธรรม มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำหรับการรวมเสิ่นเจิ้นเข้ากับฮ่องกงและมาเก๊า คำสั่งของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่า ภายในปี 2035 เมืองเสิ่นเจิ้นต้องเป็นผู้นำโลกที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโดยรวม
ฮ่องกงซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบสิบปี จากการประท้วงรัฐบาลได้ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงและส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกและการลงทุน
Greater Bay Area
แผนพัฒนาพื้นที่บริเวณ Guangdong-Hong Kong-Macau Greater Bay มีจุดประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและสร้างระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ (economic ecosystem) อย่างสมบูรณ์แบบให้เกิดขึ้นภายในกลุ่มเมืองต่างๆ บริเวณ Guangdong-Hong Kong-Macau Greater Bay การสร้างระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ คือการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงและสัมพันธ์ระหว่างกัน มีการทำงานที่เกื้อกูลกันโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น สินค้า บริการ แรงงาน และอื่นๆ จากภายในกลุ่มเมืองของระบบนิเวศน์ แต่ละเมืองถูกแบ่งหน้าที่แตกต่างกันไปตามความถนัด ซึ่งจะเป็นการรวมตัวกันทำให้เกิดระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ โดยจะอาศัยนวัตกรรมเป็นแกนหลักของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในพื้นที่ มีการส่งเสริมการค้าขายการให้บริการอย่างเสรีระหว่างกลุ่มเมือง มีการร่วมมือกันในธุรกิจอุตสาหกรรมการให้บริการเพื่อเป็นฐานนวัตกรรมโลกในเขตทางใต้ของจีน
สำหรับพื้นที่ในเขต Greater Bay ข้างต้นจะประกอบด้วยหัวเมืองทั้งหมด 11 เมือง ได้แก่ เขตบริหารพิเศษ 2 เขต (HKSAR และ Macau SAR) และหัวเมืองทั้งหมด 9 แห่งใน Pearl River Delta ได้แก่ Guangzhou, Shenzhen, Zuhai, Foshan, Huizhou, Dongguan, Zhongshan, Jiangmen และ Zhaoqing มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 56,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 67 ล้านคน ซึ่ง GDP ในปี 2559 ของบริเวณอ่าว Greater Bay รวมทั้งหมดมีจำนวนถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (US$ 1.3 trillion) ซึ่งมากกว่าเขตอ่าวซานฟรานซิสโกเป็นสองเท่า และใกล้เคียงกับ GDP ของเขตอ่าวนิวยอร์ก ที่สำคัญพื้นที่ในเขต Greater Bay มีการนำเข้า และส่งออกรวมมูลค่าทั้งสิ้นถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (US$ 1.5 trillion)
แผนการเชิงยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัฐบาลจีน ได้วางแผนสร้าง Guangdong-Hong Kong-Macau Greater Bay เป็นหนึ่งในเขตพื้นที่ที่สำคัญระดับโลก ที่เป็นศูนย์กลางทางด้านการเงิน การค้า เทคโนโลยี นวัตกรรม การขนส่ง และการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมบนส้นทาง Maritime Silk Road และจะเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกเพื่อการทำการค้าระหว่างจีน และประเทศอื่นๆ บนเส้นทาง Maritime Silk Road
ในแง่มุมมองของแผนยุทธศาสตร์ของจีน การพัฒนา Greater Bay เป็นการขยายพื้นที่ทางเศรษฐกิจออกมาจากเขต Pearl River Delta (PRD) โดยมีฮ่องกงรับบทบาททำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเขต PRD ออกสู่เศรษฐกิจภายนอก และยกระดับเป็นเศรษฐกิจโลกเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศจีนฉบับที่13 (The National 13th Five-Year Plan) บวกกับนโยบาย “One Belt One Road” ซึ่งเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจคู่ระหว่างการขยายตัวจากจากเศรษฐกิจภายในออกสู่ภายนอก และการเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจภายนอก โดยภายในเขต Greater Bay มีการพัฒนาการบริหารการใช้ของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าด้วยประโยชน์สูงสุด เพื่อการเสริมสร้างความสามารถในด้านนวัตกรรม และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สำหรับบทบาทต่อภายนอกของ Greater Bay คือจะเป็นหน้าต่างทางการค้าระหว่างจีน และต่างประเทศ ในด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งของพื้นที่อ่าว Greater Bay จะหันไปทางใต้ของทะเลจีนใต้ และติดกับประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลักของ Maritime Silk Road อีกด้วย
ที่มา: https://www.thaibizchina.com
ฮ่องกงได้กลับคืนสู่การปกครองของจีนในปี 1997 ภายใต้นโยบายหนึ่งประเทศ สองระบบ ที่ให้เสรีภาพมากกว่าพลเมืองในแผ่นดินใหญ่ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะที่หากข้ามแดนมาเสิ่นเจิ้นซึ่งอยู่ติดกันกลับต้องถูกจำกัดการเข้าถึงข่าวสารและข้อมูล แต่กำลังผงาดขึ้นเป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิรูปและเปลี่ยนโฉมที่จีนประกาศไว้เมื่อ 40 ปีก่อน
เอกสารของภาครัฐระบุว่า ประชาชนฮ่องกงและมาเก๊าที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในเสิ่นเจิ้นจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ (citizen treatment) เป็นผู้มีถิ่นฐานในเสิ่นเจิ้น ซึ่งแนวทางนี้จะเสริมสร้างระบบการเข้าออกที่เปิดกว้างและสะดวกมากขึ้นตรงบริเวณพรมแดน รวมทั้งต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในเสิ่นเจิ้นได้จะได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งกิจการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อฮ่องกง เพราะเป็นพื้นที่ที่ธุรกิจต่างประเทศใช้เป็นฐานจัดตั้งกิจการได้ง่าย
แต่ฮ่องกงจะได้รับประโยชน์จากการที่เสิ่นเจิ้นผงาดขึ้นมาเป็นเมืองชั้นนำระดับโลก เพราะมืออาชีพที่เข้ามาทำงานในเสิ่นเจิ้นยังสามารถติดต่อทางธุรกิจกับฮ่องกงได้
ในทศวรรษ 1990 การปฏิรูปไปสู่ระบบตลาด การสนับสนุนของรัฐบาล และหลังจากที่มีสถานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้เสิ่นเจิ้นยกระดับจากหมู่บ้านประมงมาสู่ศูนย์กลางในการผลิตและเทคโนโลยีของจีน ปัจจุบันเสิ่นเจิ้นเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลก เช่น เทนเซนต์ ยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียของจีน และหัวเว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเครือข่ายเทเลคอมรายใหญ่ และยกระดับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Greater Bay Area ซึ่งพัฒนา 11 เมืองสำคัญ ที่รวมฮ่องกง มาเก๊า มณฑลกว่างตงซึ่งเป็นที่ตั้งของเสิ่นเจิ้น
ในเอกสารยังระบุว่า จีนมุ่งมั่นที่จะรวมเมืองเศรษฐกิจทั้ง 3 เมืองเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติของนโยบายหนึ่งประเทศ สองระบบ และตอกย้ำเอกลักษณ์กับการทำงานแบบฮ่องกงและความเป็นเพื่อนร่วมชาติของมาเก๊า ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมข้ามแดน
นอกจากนี้ แนวทางในคำสั่งยังสั่งให้เสิ่นเจิ้นปรับปรุงประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมอย่างเบ็ดเสร็จรวมทั้งขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และให้เสิ่นเจิ้นสามารถประยุกต์ใช้กฎหมายและกฎระเบียบอย่างยืดหยุ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปฏิรูปและการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
แนวทางของคำสั่งยังสนับสนุนโครงการนำร่องในการส่งเสริมให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลสำคัญของโลกและการพัฒนาหลักเกณฑ์ทางการเงิน

ที่มาภาพ: https://www.savills.com/prospects/data-opportunities-abound-in-the-greater-bay-area.html

เรียบเรียงจาก reutersglobaltimeschannelnewsasia
https://thaipublica.org/2019/08/china-state-council-calls-shenzhen-integration-with-hong-kong-macau/

สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐทำให้นักลงทุนที่มีฐานการผลิตในจีนเริ่มโยกย้ายออกจากจีนมายังประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือ ‘ฮ่องกง


ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นักธุรกิจฮ่องกงสนใจย้ายฐานการผลิตมายังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เนื่องจาก EEC สามารถเชื่อมโยงกับโครงการ Greater Bay Area (GBA) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในกวางตุ้ง ประกอบด้วย กวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า เป็นหัวหอกเชื่อมโยงอาเซียนและเชื่อมโยงกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road) ของจีนนั่นเอง
GBA คืออะไร และ เชื่อมโยงกับกับ EEC อย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกัน

จุดเริ่มต้น GBA

การประกาศนโยบายการพัฒนาโครงการ The Greater Bay Area (GBA) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ของรัฐบาลจีนฉบับที่ 13 (.. 2559-2563) เปรียบได้กับยุทธศาสตร์สำคัญของจีนที่จะต่อยอดการพัฒนาเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนให้เชื่อมกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น หลังจากจีนได้ดำเนินการพัฒนาประเทศจากผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมเมื่อ 20 ปีก่อน
โดยกำหนดให้เขตกวางตุ้ง (Guangdong) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ Pearl River Delta (PRD) เพื่อผลิกฟื้นจากเขตเกษตรกรรมเป็นเขตอุตสาหกรรมและประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงปี 2556-2558กลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่สำคัญ ตลอดจนเทคโนโลยี นวัตกรรมจากต่างชาติที่ไหลเข้าสู่จีน ทำให้เขต PRD เป็นแหล่งรวมการผลิตสินค้าป้อนตลาดโลกที่สำคัญแห่งหนึ่ง
โครงการ GBA เป็นการต่อยอดจาก PRD ในฐานะการพัฒนาจากเขตการผลิตสินค้าราคาถูกสู่การผลิตสินค้านวัตกรรมเทคโนโลยีตลอดจนศูนย์รวมของการค้าการขนส่งและการเงินโดยเฉพาะเงินหยวน
ดังนั้น GBA จึงได้รวมเขตเศรษฐกิจพิเศษในมณฑลกวางตุ้งทั้ง 9 เมือง กับ ฮ่องกงและมาเก๊า รวมเป็น11 เมือง ซึ่งในปี 2559 รายได้ประชาชาติ GDP ของ 11 เมืองดังกล่าวรวมกันมากกว่า 1,400,000ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 12 ของ GDP ประเทศจีน หรือ รายได้ต่อหัวอยู่ที่ 20,000 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีพลเมืองรวมกันเพียง 66.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ

จุดเด่นของ GBA

GBA ถูกวางให้เป็นยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับนโยบายBelt & Road ของรัฐบาลจีนที่จะเชื่อมโลกทางด้านตะวันออก และมุ่งหวังที่จะใช้เป็นแหล่งการค้าระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวน โครงการสำคัญของ GBAได้แก่
  • การสร้างเส้นทางรถยนต์เชื่อมระหว่างฮ่องกงมาเก๊าจูไห่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าระหว่าง Sea to Land และ Land to Sea ได้รวดเร็วขึ้น
  • สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมฮ่องกงเสินเจิ้นกวางโจว เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ สามารถลดระยะเวลาการเดินทางจากเดิมประมาณ 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 90 นาที และยังเชื่อมกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงต่อไปยังปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ตามนโยบาย Belt & Road ด้วย
  • เพิ่มความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในเขตจูไห่และซงชานกว่า 5 ล้านคน สามารถเช็คอินกระเป๋าเดินทางในเขตจูไห่และข้ามไปใช้เส้นทางสายการบินที่ออกจากฮ่องกงได้เพื่อลดความแออัดของสนามบินกวางโจวและเสิ่นเจิ้นรวมถึงรองรับการขยายตัวของสนามบินฮ่องกง


ฮ่องกง’ นักลงทุนหลักใน PRD

หากศึกษาย้อนไปถึงโครงการ PRD ในช่วงเริ่มต้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีนักลงทุนชาว ฮ่องกงย้ายฐานเข้าไปในจีนมากที่สุด จนถึงช่วงปี พ.. 2556-2558 มีจำนวนร้อยละ 60 ของการลงทุนในเขต PRD เพราะค่าจ้างแรงงานราคาถูก การสนับสนุนของรัฐบาลจีน การอำนวยความสะดวกในการหาแหล่งเงินทุน ทำให้เศรษฐกิจของจีนโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อเนื่องกันกว่า 5 ปี

ข้อจำกัดใน GBA

อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2558 เมื่อค่าจ้างแรงงานในจีนปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่สิทธิพิเศษต่างๆ ที่รัฐบาลจีนเคยให้  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ อาทิ การยกเลิกมิให้ชาวต่างชาติประกอบธุรกิจบางประเภทที่เคยอนุญาต อย่างด้านโทรคมนาคม เงินทุนหลักทรัพย์ เหมืองแร่ ข่าวออนไลน์ สื่อสารมวลชน บันเทิงและวัฒนธรรม เหล่านี้ทำให้จำนวนธุรกิจที่เกิดใหม่ในเขต PRD ลดลงและเริ่มมองหาฐานการผลิตในประเทศอื่นทดแทน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจีนประกาศเขตGBA ขึ้นมา ทำให้สิ่งที่เป็นข้อกังวลของนักธุรกิจ นักลงทุน โดยเฉพาะชาวฮ่องกงจะตระหนักเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ คือ
  • นักลงทุนฮ่องกงส่วนใหญ่เห็นว่าการสนับสนุนของรัฐบาลจีนต่อบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด (ร้อยละ 65) เพราะส่วนหนึ่งเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการลงทุนใน PRD มาก่อน
  • กฎระเบียบและความต่อเนื่องของรัฐบาลในการอุดหนุน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับ 2 เช่นเดียวกับการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านไฟฟ้า โทรคมนาคม รวมถึงเรื่องของระบบภาษี การหาแรงงาน และ แหล่งเงินทุน เป็นต้น

เทรดวอร์ดันฮ่องกงย้ายฐาน

นางชณันภัสร์ พิศาลอภิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีบริษัทในฮ่องกงที่ตั้งโรงงานในจีน ได้เข้ามาแจ้งความจำนงกับทางสำนักงานฯว่าต้องการมาร่วมทุนและย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทย เนื่องมาจากกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน จึงทำให้รัฐบาลของฮ่องกงต้องการนำผู้ลงทุนย้ายฐานการผลิต เพื่อให้บริษัทยังสามารถส่งสินค้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐได้ ขณะที่รัฐบาลฮ่องกงมีนโยบายให้เงินสนับสนุนผู้ประกอบการรายละ 1 ล้านเหรียญฮ่องกงในการที่จะมาลงทุนในอาเซียน ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่นักลงทุนฮ่องกงให้ความสนใจ โดย สคต.ณ เมืองฮ่องกงมีแผนจะนำคณะนักธุรกิจฮ่องกงเยือนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อหาลู่ทางการค้าและการลงทุนระหว่างวันที่ 8-10 กรกฏาคมนี้

ข้อเสนอแนะของ สคต.ฮ่องกงต่อ EEC

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ฉบับที่ 13 เน้นนโยบายลดการผลิตสินค้าราคาถูก ในประเทศหรือ 4 Des ได้แก่ De-Capacity, De-Stock, De-Leverage และ De-Cost มาสู่การผลิตสินค้าที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ตามนโยบาย Made in China ซึ่งกำหนดให้เขต GBA เป็นแหล่งผลิตสินค้าและ บริการที่สำคัญสำหรับรองรับนโยบายนี้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสอดคล้องและใกล้เคียงกับยุทธศาสตร์ของไทยคือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ในการดึงเทคโนโลยี นวัตกรรม การลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Hub ของตลาดอาเซียน
จากการศึกษาโครงการ GBA และบทเรียนจาก PRD ในเบื้องต้นของสคต.ฮ่องกงได้หารือกับนักธุรกิจฮ่องกงในสาขาต่างๆ สามารถสรุปเสนอแนวทางการปรับตัวของ EEC ดังต่อไปนี้
  • การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลไทย สิ่งสำคัญที่นักธุรกิจฮ่องกงเรียนรู้จากการลงทุนในจีนคือ การขาดการสนับสนุนที่ต่อเนื่อง ทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถดำเนินการหรือขยายต่อไปได้ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลไทยประกาศ New Economy และประเทศไทย 4.0 แล้ว ควรกำหนดหลักเกณฑ์การสนับสนุนที่ชัดเจนออกมาให้เป็นรูปธรรม ตลอดจนด้านกฎหมายเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ตัวอย่างเช่น ฮ่องกงรณรงค์การลดมลภาวะจากรถยนต์ โดยสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า จึงออกกฎหมายยกเว้นภำษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าระยะเวลา 5 ปีแม้ว่าฮ่องกงไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแต่ได้สร้างอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าอาทิแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่ชาร์ตไฟทั้งแบบติดตั้งสาธารณะและแบบพกพาและอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมากและพร้อมขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศเป็นต้น
  • การผลักดันการสร้างมาตรฐานสินค้าแห่งอาเซียน เหตุผลสำคัญที่นักธุรกิจฮ่องกงเข้าไปลงทุนในจีนเนื่องจากขนาดของตลาดที่ใหญ่มาก เช่นเดียวกับการลงทุนในไทยก็เพื่อหวังต่อยอดจำหน่ายสินค้าไปทั่วอาเซียน ซึ่งมีประชำกรมากกว่า 600 ล้านคน แต่สินค้าในแต่ละประเทศสมาชิกของอาเซียนกลับมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน อาทิ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเดียวกัน แต่มีปลั๊กเสียบที่แตกต่างกัน สินค้าอาหารสำเร็จรูปที่มีข้อกำหนดและระเบียบข้อบังคับที่แตกต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นหากไทยสามารถผลักดันให้อาเซียนสร้างมาตรฐานสินค้าของภูมิภาคได้ จะสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้าสู่ EECได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลงนาม FTA ระหว่าง ASEAN และ Hong Kong แล้ว ไทยควรใช้โอกาสนี้เตรียมความพร้อมรับการเปิดเสรีในปี 2562
  • การปรับปรุงข้อกฎหมาย/สิทธิประโยชน์และธรรมาภิบาล สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักลงทุน คือ ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกจากประเทศที่ลงทุนในประเด็นนี้ไทยควรกำหนดทิศทางในการสนับสนุนหรือกำหนดข้อบังคับที่ชัดเจนว่าสิ่งใดทำได้หรือทำไม่ได้เพื่อให้นักลงทุนทราบแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกันตลอดจนข้อกฎหมายใดที่ควรปรับปรุงให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกก็ควรนำมาพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความทันสมัยด้วย
  • การเชื่อมโยงภาคบริการระหว่าง GBA กับ EEC แม้ GBA จะเน้นการพัฒนาด้านการผลิตสินค้า นวัตกรรม เทคโนโลยี การค้า การขนส่งและการเงิน ซึ่งคล้ายคลึงกับ EEC ของไทย แต่ในด้านภาคบริการและการท่องเที่ยว ไทยสามารถขยายความร่วมมือในด้านดังกล่าว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนเข้าสู่ประเทศไทยและอาเซียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ไทยยังสามารถเข้าไปขยายการลงทุนในด้านธุรกิจบริการในเขต GBA ได้มากขึ้น

อีอีซี การส่งออก

โอกาสดึงทุนฮ่องกงเข้า EEC

เมื่อประเทศไทยกำหนดนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อขับเคลื่อนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยหนึ่งในโครงการที่สำคัญคือโครงการ Eastern Economic Corridor (EEC) ในเขตภาคตะวันออกของประเทศ เชื่อมโยงการค้า การขนส่ง การลงทุน และรองรับการขยายตัวของนโยบาย Belt & Roadของจีนที่ให้ความสำคัญกับการค้าในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับจีนประกาศโครงการ The Greater Bay Area (GBA) เพื่อพัฒนา 11 เมืองสำคัญ (รวมฮ่องกงและมาเก๊าในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษา GBA เพื่อนำมาปรับใช้กับ EECของไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุนและการขนส่ง

ข้อมูล : มอง Greater Bay Area เพื่อเติมเต็ม Eastern Economic Corridor สคต เมืองฮ่องกง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สื่อฮ่องกงแนะใครเบื่อการประท้วงให้ย้ายมา ‘อยู่ไทย’

จับตาก้าวย่าง "แจ๊ค หม่า" สู่การเมืองโลก